นี่คือบลูแอมเบอร์ หรือ อำพันสีฟ้า ที่มีชื่อเสียงและหายากมาก ยังเป้นที่ถกเถียงกันค่ะว่าอะใรทำให้อำพันชนิดนี้เกิดสีฟ้าหรือว่า อาจเป็นเพราะสัตว์หรือพืชที่อยู่ในแถบนี้ก็เป็นได้(เมืองร้อน) ปัจจุบันได้ค้นพบแหล่งอำพันแห่งใหม่ที่แถบเส้นศูนย์สูตร คือแถบทะเลคาริเบียนคือที่ประเทศสาธารณรัฐโดมินิกันโดยมีการทำเหมืองถึงสามแห่งคือที่บริเวณลา คัมเบรอ ซึ่งอยู่บนภูเขาตอนกลางของประเทศบริเวณนี้มีการทำเหมืองหลายแห่งลา โทก้า ,ปาโล เควมาโด อำพันบริเวณนี้มีอายุนับได้ ๓๐-๔๐ ล้านปี ส่วนบริเวณทางตอนใต้ของประเทศคือที่ ปาโล อัลโต ใกล้กับ เมืองซานเตียอาโก้ซึ่งเป็นเมืองหลวงบริเวณจะพบ โคปอลซึ่งคล้ายอำพันแต่อายุน้อยกว่า ประมาณ๑๕-๑๗ล้านปีเท่านั้นโคปอลส่วนใหญ่มักจะสีขุนไม่ใส ต้นไม้ที่ให้กำเนิดอำพันเป็นต้นไม้คนละประเภทกับอำพันที่เกิดในแถบทะเลบอลติกค่ะ
การทำเหมืองอำพันในบริเวณนี้มักจะทำโดยการขุดรูหรือเป็นโพรงที่ด้านข้างของหน้าผาหรือขุดเป็นโพรงลึกลงไปในพื้นดิน ส่วนใหญ่มักจะเป็นคนพื้นเมืองทำกันเองจึงไม่มีเทคนิคหรือเครื่องมือสมัยใหม่จึงทำให้ผลิตได้น้อยมากและเหมืองจะอยู่ห่างไกลการขนส่งยังใช้พวกม้าและลาในการขนส่งการผลิตอำพันก็ลำบากไม่สม่ำเสมอขึ้นอยู่กับฤดูกาลยิ่งถ้าช่วงฝนตกชุกจะทำเหมืองอำพันไม่ได้เลยอีกประการหนึ่งคนงานเหมืองนี้ยังเป็นเกษตรกรที่ปลูกต้นกาแฟในไร่อีกด้วยถ้าถึงฤดูเก็บเกี่ยวคนงานเหมืองจะทิ้งการขุดอำพันเพราะต้องไปเก็บเกี่ยวกาแฟอันเป็นอาชีพหลักมากกว่า
อำพันของประเทศโดมินิกันไม่ได้เกิดจากยางของต้นไม้ประเภทต้นสนแต่เกิดจากไม้ที่ชื่อว่า อะการ์โรโบ( Agarrobo tree ต้นไม้นี้เป็นไม้ยืนต้นสูงมากกว่า๑๐เมตรขึ้นไปมีฝักสีเขียวใช้ทำอาหาร เป็นส่วนผสมในการทำขนมเครื่องดื่มต่างๆและมีคุรค่าทางอาหารสูง)เป็นไม้ที่เกิดในท้องถิ่น
อำพันของประเทศนี้ส่วนใหญ่นำไปใช้ทำเครื่องประดับและส่งออกไปขายต่างประเทศเท่านั้นส่วนใหญ่เป็นอำพันที่มาจากเหมืองแถบที่เรียกว่า
ลา คัมเบรอ ( La Cumbre) อำพันที่นี่จะฝั่งตัวรวมอยู่กับพวกลิกไนท์(คือถ่านหินชนิตหนึ่งที่เกิดจากการทับถมของซากพืชซากสัตว์มานับล้านๆปี)
และลิกไนท์ยังทับถมรวมอยู่กับพวกหินทรายเป็นชั้นลึกลงไปในดินซึ่งบริเวณนี้เคยเป็นท้องทะเลมาก่อนต่อมาเปลือกโลกเกิดการเปลี่ยนแปลงท้องทะเลได้ยกตัวสูงขึ้นกลายเป็นแผ่นดินจึงทำให้มีซากพืชสัตว์ยุคโบราญฝั่งตัวรวมอยู่ด้วยเป็นจำนวนมาก
อำพันจากทะเลบอลติกจะมากจากยางของต้นไม้ประเภทต้นสนเท่านั้นแต่อำพันจากโดมินิกันจะได้จากต้นไม้ประเภท(leguminous,
hymenaea) และกระบวนการเปลี่ยนจากยางไม้ไปเป็นอำพันนั้นไม่แตกต่างกันมากนักและเมื่อเป็นอำพันแล้วก็ดูคล้ายกันเกือบแยกไม่ออก
ว่ามาจากแหล่งไหน อำพันที่มาจากประเทศโดมินิกันมีหลายสีคือเหลืองสีทองสีส้มมีสีน้ำตาล ปะปนอยู่เล็กน้อยแต่สีที่หายากคือสีแดงซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางเคมีของยางสนกับ ออกซิเจน( oxidation) ที่ผิวของมันส่วนที่หายากอีกก็คือสีเขียวและสีฟ้าลักษณะของอำพันจากประเทศนี้จะใส จนเห็นได้ชัด มักจะมีตัวแมลงหรือสัตว์เล็กๆปะปนส่วนอำพันจากแถบทะเลบอลติกนั้นนอกจากจะมีหลายสีแล้วมักจะพบว่ามีลักษณะขุ่นทึบมากกว่าใส ต้องนำไปผ่านกระบวนการขัดสีฉวีวรรณโดยใช้ความร้อนและไขมันชนิดหนึ่งเพื่อให้เกิดความใสและขจัดฟองอากาศ
ที่อยู่ภายในออกไป ขบวนการนี้เรียกว่า “ สแปงเกิ้ล (spangleX “ทำให้เกิดวงกลมแวววับแพรวพราวอยู่ภายในซึ่งจะทำเฉพาะอำพันที่มาจากแถบทะเลบอลติกเท่านั้นส่วนอำพันจากประเทศโดมินิกันแทบจะไม่ต้องผ่านกระบวนการนี้เลย